โรคไทรอยด์

ต่อมไทรอยด์ เป็นต่อมไร้ท่อที่ใหญ่ที่สุดของร่างกาย มันเป็นความรับผิดชอบในการผลิตฮอร์โมนเพื่อควบคุมการเจริญเติบโต และการทำงานของร่างกาย ในปัจจุบันเราพบว่าเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์โดยมากยิ่งขึ้น ซึ่งแยกออกมาได้สองประเภท อย่างแรก ไทรอยด์เป็นพิษ และ อย่างที่สอง จะเป็นการทำงานผิดปกติของ ไฮโปไทรอยด์ เป็นต้น ซึ่งไทรอยด์เป็นพิษนั้้นจะเกิดจากเนื้องอกที่มีความผิดปกติ

ต่อมไทรอยด์เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติในการทำงาน กรณีเกิดไทรอยด์เป็นพิษ และในเวลาเดียวกันมันทำงานผิดปกติต่อร่างกายของคนเรา มันจะส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง เนื่องด้วยต่อมไทรอยด์จะมีหน้าที่รับผิดชอบในการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของร่างกาย รวมทั้งการควบคุมของการทำงานอวัยวะอื่น ๆ ของร่างกาย ซึ่งความผิดปกติของต่อมไทรอยด์จะมีผลต่อระบบการทำงานของร่างกายทั้งหมด ซึ่งมันก็จะเป็นอันตรายถึงชีวิตของคนเรา

ลักษณะของต่อมไทรอยด์นั้นคล้ายกับผีเสื้อ และจะอยู่บริเวณช่วงคอด้านข้างกล่องเสียง และจะอยู่ช่วงบริเวณด้านหน้าหลอดลมของคนเรา ทั้งซ้ายและขวา จะเชื่อมต่อกับส่วนที่แคบ ส่วนนี้จะเรียกว่า อีสมัส Isthmus ต่อมไทรอยด์จะทำงานสร้างไทรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งควบคุมการเผาผลาญอาหารของร่างกายที่มีผลต่อสมองหัวใจและระบบไหลเวียนเลือด

สาเหตุของการเกิดโรคในต่อมไทรอยด์ ทางการแพทย์ไม่สามารถบ่งชี้ชัดได้ว่าสาเหตุที่แท้จริงมาจากไหน ส่วนใหญ่แล้วผู้หญิงจะเป็นมากกว่าผู้ชาย คิดเป็นร้อยล่ะ 80% เลยทีเดียว และก็อาจเป็นไปได้ว่าขาดสารไอโอดีน และ มาจากพันธุกรรม นั่นเอง

ข้อบ่งชี้ของโรคต่อมไทรอยด์ อาจจะระบุได้ 2 ประเภทของความผิดปกติของต่อมในไฮโปไทรอยด์ ผู้ป่วยจะมีอาการ เช่น เชื่องช้า ชีพจรเต้นช้า เซื่องซึม เป็นต้น แต่กรณีเป็น ไทรอยด์เป็นพิษ จะมีอาการ ขี้หงุดหงิดง่ายมาก ใจร้อน ชีพจรจะเต้นเร็วผิดกว่าปกติ ผมร่วงบ่อย เหงื่อออกมากกว่าปกติ หากเป็นผู้หญิงประจำเดือนจะมาผิดปกติ แต่ทั้งนี้ในการป้องกันเราสามารถทำได้ง่ายมากๆ เพียงแค่ตรวจสุขภาพร่างกายประจำปีของเราเท่านั้นเอง และทานอาหารที่มีประโยชน์ที่มีสารอาหารไอโอดีน และไม่ควรจับต้องหรือสัมผัสสารกัมมันตรังสีโดยเด็ดขาด

หากแพทย์ตรวจพบว่าต่อมไทรอยด์มีความผิดปกติ สำหรับการรักษานั้นไม่ค่อยซับซ้อนเท่าไหร่นัก สามารถรักษาได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น การผ่าตัด ให้น้ำแร่รังสี การทานยา เป็นต้น แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ป่วย ยกตัวอย่างของการรักษา ไฮโปไทรอยด์ เพียงแค่ให้ยาปรับฮอร์โมนเท่านั้น

กรณีหากเป็นไทรอยด์เป็นพิษ ในทางรักษานั้นแพทย์จะให้ทานยาไปก่อนและติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง หากผู้ป่วยนั้นอาการไม่ดีขึ้นเลย หรือเกิดอาการดื้อยาไม่สามารถทานยาต่อไปได้แล้ว ในทางการรักษาขั้นต่อไปคงต้องผ่าตัด หรือ ให้น้ำแร่รังสี แก่ผู้ป่วย

สำหรับผู้ป่วยที่เกิดความผิดปกติจากก้อนเนื้อ แพทย์จะรักษาโดยการผ่าตัดก้อนเนื้อนั้นออกไป ซึ่งการผ่าตัดสมัยใหม่นั้นล้ำหน้าไปกว่าสมัยก่อนมาก แพทย์จะผ่าตัดโดยใช้กล้องช่วยในการผ่าตัด โดยการผ่าตัดนั้นจะเจาะช่องผ่านทางซอกรักแร้ จะทำให้แผลมีขนาดเล็กเพียง 0.5 เซนติเมตร เท่านั้น และทำการเอาก้อนเนื้อนั้นออกไป ซึ่งการผ่าตัดสมัยใหม่นี้จะทำให้แผลมีขนาดเล็กและผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้นอีกด้วย

Credit Picture From ronnyallan.com, detoxspecialist.com.au